การฝึกให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์

การฝึกให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์


การฝึกให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก วัยเด็กตอนต้น 2-5 ขวบ จึงเป็นวัยที่เป็นโอกาสของเด็กที่พ่อแม่จะละเลย หรือไม่ควรที่จะให้เขาพลาดจากการฝึกสมองในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การฝึกตั้งแต่เด็กจะทำให้เขาได้ใช้สมองและมีทักษะในการใช้ความคิด เช่น

1. ฝึกลูกให้มีความคิดริเริ่ม(Originality Thinking) หมายถึง ความคิดที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยมี หรือไม่ซ้ำกับคนอื่น ไม่เคยมีใครนึกถึงมาก่อน เช่น เล่านิทานแล้วให้ลูกเล่าเรื่องต่อให้จบ ให้ลูกดูภาพแล้วให้ลูกเล่าว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ฯลฯ

2. การฝึกให้เด็กมีความคิดคล่องตัว(Fluency Thinking) ความคิดคล่องตัว หมายถึงให้เด็กได้รู้จักคิดในปริมาณมาก ๆ หรือคิดให้ได้หลาย ๆความคิด เช่น ไหนลูกลองบอกแม่ซิว่ามีดอกไม้อะไรบ้างที่มีสีแดง มีสัตว์อะไรบ้างที่มี 4 ขา บอกสิ่งของที่อยู่ในครัวเรามาให้มากที่สุด ฯลฯ

3. ฝึกให้ลูกมีความคิดยืดหยุ่น(Flexible Thinking) หมายถึงให้เด็กได้รู้จักคิดให้หลากหลาย คิดให้มากที่สุด ไม่ยึดติดกับมุมมองหรือคำตอบเพียงคำตอบเดียว ยิ่งมีหลายแนวทาง หลายประเภทยิ่งดี เช่น ถามเด็กว่า กระดาษทำอะไรได้บ้างนอกจากเขียนหนังสือ ฯลฯ

4. การฝึกให้ลูกมีความคิดละเอียดลออ(Elaboration Thinking) หมายถึงความคิดในรายละเอียดที่นำมาตกแต่งความคิดครั้งแรก เป็นความคิดที่ใส่ใจในรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เช่น ให้เด็กต่อเติมเส้นให้เป็นภาพ ให้บรรยายภาพ ต่อเติมรูปทรงต่าง ๆเป็นภาพ ต่อไม้บล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ ฯลฯ

5. ความคิดจินตนาการ(Imagination) ความคิดจินตนาการเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้คนเราเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีวิธีการฝึกลูกได้หลายแบบ เช่น ให้เด็กสมมติว่าตัวเองเป็นดอกไม้ ให้เด็กเล่าว่าจะเป็นอย่างตามจินตนาการของตนเอง ให้เด็กทำของเล่นจากจินตนาการของตน หรือให้เด็กช่วยต่อเติมเรื่องเล่าต่อจากเรื่องเล่าเคยฟังกันมาให้แตกต่างออกไป เช่น เรื่องเจ้าหญิงนิทราในมุมมองของน้องเพลิน เป็นต้น

แหล่งข้อมูล “สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต”



การพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ด้วยสื่อของเล่น


ในช่วงแรกของชีวิตจนถึง 5 ขวบ เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อพัฒนาการ
ความคิดสร้างสรรค์และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ แนวทางในการพัฒนาได้แก่

1. สอนให้เด็กได้รู้จักคิด คิดเป็น คิดหลายๆ แง่ และสามารถคิดแก้ปัญหาได้สำเร็จ
2. กระตุ้นให้เด็กกล้าแสดงความรู้สึกนิดคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
3. ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
4. เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการถาม และสนใจต่อคำถามของเด็ก
6. นำวิธีการสอนที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
7. สนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางความคิดในเชิงสร้างสรรค์
8. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระ
9. จัดสภาพห้องให้ดูแปลกใหม่
10. ไม่ควรกำหนดรูปแบบความคิดและบุคิกภาพของเด็กมากเกินไป

ขอบคุณที่มาข้อมูล : วีณา ประชากูล วารสารวิชาการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 4
 

แม่รักลูกนะ - พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก, เล่นกับลูก, เมนูอาหารเด็ก, คู่มือเลี้ยงลูก, ดูแลเด็ก Copyright © 2010 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by Emocutez