เด็ก 6-7 เดือน

เด็กวัย 6-7 เดือน


- พูดคุยกับเด็กบ่อยๆ
- ให้เด็กเล่นกับกระจก ให้เด็กมองตามของตก 
- เล่นหาของที่มีผ้าคลุมไว้บางส่วน 
- ให้ถือของเล็กๆไว้ในมือ ข้างละ 1 ชิ้น หัดให้เปลี่ยนมือถือของ  
- หัดให้เด็กพลิกคว่ำ หงายจับนั่งพิงเบาะ 
- ให้นั่งโดยใช้มือยัน และหัดคืบไปหาสิ่งของที่วางล่อไว้ข้างหน้า 
- เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
- เล่นโยกเยกกับเด็ก 
- หาของให้จับ
- อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
- ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ - หยาบ อ่อน - แข็ง
- ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า - ออก จากถ้วย หรือกล่อง


แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเพิ่มเติมจากกรมสุขภาพจิต


พลิกคว่ำ และหงาย
1. วางเด็กนอนคว่ำ เรียกชื่อเด็กพร้อมเขย่าของเล่นที่มีเสียง เช่น กรุ๋งกริ๋งด้านห้าเหนือศีรษะเด็ก เคลื่อนของเล่นไปด้านข้าง เมื่อเด็กพยายามจะคว้าของเล่น ตัวก็จะพลิกหงายตามมาได้ ถ้าเด็กทำไม่ได้ ผู้สอนช่วยจับเข่างอ ดันสะโพกพลิกตัวหงาย 
2. วางเด็กนอนหงาย วางของเล่นด้านข้างระดับสายตา ผู้สอนจับใต้เข่าเด็กทั้งสองข้าง งอเข่าข้างหนึ่งพลิกเป็นท่านอนตะแคง แล้วพลิกตัวเป็นท่านอนคว่ำ

เอื้อมหยิบของใกล้ตัว หรือไกลมือเอื้อมเล็กน้อย
1. วางเด็กนอนคว่ำแขนยันพื้นให้ข้อศอกอยู่ข้างหน้าไหล่ ผู้สอนยื่นของเล่นห่างจากศีรษะเด็ก 20 ซม. เรียกชื่อเด็ก บอกให้จับของเล่น ถ้าเด็กทำไม่ได้ผู้สอนช่วยจับข้อมือเด็ก เอื้อมหยิบ หรือไปจับของเล่น (ฝึกทั้งสองข้างสลับกัน) 
2. พยุงเด็กไว้ในท่านั่ง 
    2.1 เขย่าของเล่นที่มีเสียงให้เด็กสนใจ ถ้าเด็กไม่เอื้อมมือออกไป ช่วยจับมือเด็กให้เอื้อมไปที่ของเล่น 
    2.2 พูดคุย พยายามให้เด็กเอื้อมมือมาจับใบหน้า ผม ของผู้สอน 
    2.3 ก่อนให้นมเด็กทุกครั้ง ถือขวดนมห่างจากหน้าเด็กประมาณ 20 ซม. เรียกให้เด็กมองที่ขวดนม เพื่อให้เด็กเอื้อมมือทั้งสองข้างออกมาถ้าเด็กไม่ทำ จับมือเด็กมาที่ขวดนม 
 3. ทำแกนขวางเตียงเด็ก ใช้เชือกที่ยึดได้ผูกของเล่นสีสดใส มีเสียงติดกับแกนในระยะที่เด็กเอื้อมมือถึง เปลี่ยนของเล่น และตำแหน่งแขวนบ้าง

หันตามเสียงเรียก
1. เรียกเด็กทุกครั้งที่เดินมาหา ก่อนอุ้ม ก่อนให้นม หรือก่อนฝึกกิจกรรมต่าง ๆ และรอให้เด็กมองหน้า 
2. เรียกชื่อเด็กด้วยเสียงปกติทางด้านหลังห่างจากเด็ก 1 ฟุต สลับกันซ้าย-ขวา เด็กบางคนถนัดหันหน้าข้างเดียว ต้องพยายามฝึกข้างที่ไม่ถนัดให้มากกว่า

ส่งเสียง หรือพ่นน้ำลายเล่น
1. ผู้สอนทำเสียง เช่น พ่นน้ำลายโอะอะ มามา ปาปา ที่ละเสียง รอให้เด็กทำตาม 
2. เล่นของเล่นพร้อมทำเสียงให้เด็กฟัง เช่น ไถรด ทำเสียง “ปริ๊น ปริ๊น” ไถรถไฟทำเสียง “ปู๊น ปู๊น” ทำทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง สังเกตว่าเด็กออกเสียงเล่นกับของเล่นนั้นบ้างหรือไม่

 

แม่รักลูกนะ - พัฒนาการทารก, พัฒนาการเด็ก, เล่นกับลูก, เมนูอาหารเด็ก, คู่มือเลี้ยงลูก, ดูแลเด็ก Copyright © 2010 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by Emocutez